วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เมื่อเรารักกัน

เมื่อคนเรารักกัน... ไม่ต้องคิดว่า... จะโง่ หรือ จะฉลาด
ไม่ต้องคิดว่า... ถ้าเชื่อเค้าแล้วเราจะโง่ในสายตาใคร ใคร
ไม่ต้องคิดว่า... ถ้าเปิดหูตารับฟังปากชาวบ้านเป็นการฉลาด
ไม่ต้องคิดว่า... ถ้าเชื่อว่าเค้ารักเราคนเดียวเป็นเรื่องโง่
ไม่ต้องคิดว่า... ถ้ารู้ว่าเค้าทำอะไรเพื่ออะไรเป็นเรื่องฉลาด
ไม่ต้องคิดว่า... ถ้าให้โอกาสเค้า เรื่อย เรื่อย เป็นเรื่องโง่
ไม่ต้องคิดว่า... ถ้าตั้งกฎเกณฑ์แล้วจะฉลาด

เมื่อคนเรารักกัน... เราไม่ได้เล่นเกม
ไม่ใช่เล่น... หมากรุก... ที่ต้องมองเชิงกันก่อน
ไม่ใช่เล่น... วิ่งไล่จับ... คนหนึ่งหนีคนหนึ่งวิ่งตาม
ไม่ใช่เล่น... ซ่อนหา... ต้องตามจิกตามหาตลอดเวลา
ไม่ใช่เล่น... โยนเหรียญ ... สุ่มเอาว่าจะหัวหรือก้อย

เมื่อเรารักกัน... เราไม่ได้ทดลอง action = reaction
เวลาเราให้เค้าไป... ไม่จำเป็นว่าต้องได้รับกลับ
เวลาเค้าโมโหใส่... ไม่จำเป็นต้องโมโหกลับ
เวลาเค้าทำไม่ดีกับเรา... ไม่จำเป็นต้องทำบ้าง
เวลาเค้าไม่ทำดีให้... ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรทำสิ่งดี ดีให้เค้า

เมื่อเรารักกัน... ไม่จำเป็น... ต้องหาเหตุผลให้กับเหตุการณ์ทุกอย่าง
ไม่จำเป็น... ต้องกลัวในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น...
ไม่จำเป็นที่ต้องบอกเค้าว่า...
"เค้าคงไม่เห็นคุณค่าของสิ่งของที่เค้ามี ถ้าเค้ายังไม่เสียมันไป..."

จำไว้ให้แน่นใจ... กับเรื่องดีๆ ที่เค้าพูด
จำไว้ให้อบอุ่นใจ...กับสิ่งดีๆ ที่เค้าทำให้เรา
ค้นมันออกมา... เวลาเหงาใจ
ค้นมันออกมา... เวลาไม่มั่นใจ
ค้นมันออกมา... เวลาเสียใจ

เพราะว่า... เวลาใจเราอ่อนแอ สิ่งดีๆ ...ของเรา 2 มักจะ... หายไป...
อย่า!! อย่า... ปล่อย...ให้มันหายไป...
เราอาจจะเสียใจ... ที่เราหลงลืมเรื่องดีๆ... เหล่านั้น...

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หยดน้ำและผลึกน้ำแข็งในเมฆมีขนดโตขึ้นได้อย่างไร ???

1. ผลจากตัวละลาย
- ผงเกลือหรืออนุภาคทำหน้าที่เป็นนิวเคลิไอของการกลั่นตัวเป็นน้ำอนุภาคจะละลายและกลายเป็นสารละลาย
- ความกดไอน้ำของสารละลายจะน้อยกว่าความกดไอน้ำของหยดน้ำบริสุทธิ์ มีความสัมพันธ์กับการระเหย คือ ความกดไอน้ำมากจะระเหยได้มาก
- หยดน้ำที่มีสารละลายผงเกลืออยู่จะมีความเข้มข้นมากกว่าหยดน้ำบริสุทธิ์และมีความกดไอน้ำน้อย อัตราการระเหยก็น้อยกว่าหยดน้ำขนาดใหญ่ที่บริสุทธิ์
- หยดน้ำขนาดเล็กที่เป็นสารละลายจะโตขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งเป็นหยดน้ำฝน โดยดึงไอน้ำที่มีอยู่โดยรอบๆมากลั่นตัวที่ผิวของหยดน้ำสารละลายนั้น

2. ผลจากสส่วนโค้งของเม็ดน้ำ
- โมเลกุลของน้ำประกอบด้วย H 2 อะตอม O1 อะตอมปลายแต่ละข้างเป็นประจุบวกและลบตามลำดับยึดเหนี่ยวกับโมเลกุลของน้ำอื่นๆ ถ้าหยดน้ำโตมากกว่า 0.5 cm. แรงยึดเหนี่ยวจะอ่อนเกิดการแตกตัวเป็นหยดน้ำเล็กๆ
- ถ้าผิวของหยดน้ำโค้งมากโมเลกุลจะดึงดูดกันไม่ดี ทำให้ระเหยได้ดี หยดน้ำขนาดเล็กมีความกดไอน้ำมากกว่าหยดน้ำขนาดใหญ่
- การโตขึ้นของหยดน้ำจะขึ้นกับอัตราการระเหยและความโค้งของหยดน้ำ




บทเรียนในรายวิชา ภูมิอากาศ เรื่อง เมฆและน้ำฟ้า

หลักการติดตัวอักษรลงบนแผนที่

1 . จะต้องติดชื่อที่ถูกต้องที่ได้รับการตรวจสอบมาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผนที่สองภาษา เช่น จังหวัดสิงห์บุรี จะเขียนเป็น Sing Buri Province
2. เลือกใช้ขนาดของตัวอักษรตามลำดับความสำคัญของชื่อภูมิศาสตร์
3. ควรเลือกใช้รูปแบบและสไตล์ของตัวอัักษรไม่มากจนเกินไป
4. การใช้ช่องไฟ ให้ใช้ช่องไฟแคบที่สุด เพราะถ้าช่องไฟห่างมากเกินไปตัวอักษรของชื่อภูมิศาสตร์จะขาดความต่อเนื่อง แต่ถ้าเป็นตัวอักษรที่ต้องการแสดงให้ครอบคลุมพื้นที่ให้ใช้ตัวอักษรขยาย
5. ควรติดตัวอักษรให้เป็นแนวรง ไม่ควรติดเป็นแนวโค้ง หากทีความจำเป็นให้ติดแนวโค้งได้เล็กน้อย
6. แผนที่มาตราส่วนใหญ่ให้แนวตัวอักษรขนานกับขอบ (บน-ล่าง) ของแผนที่ ส่วนแผนที่มาตราส่วนเล็กให้ติดขนานกับเส้นขนาน
7. รักษาทิศทางของตัวษรทั่วไปให้เป็นในทิศทางหลักอันเดียวกันเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
8. การติดชื่อแหล่งน้ำหรือแม่น้ำควรใช้ตัวเอน ชื่อแม่น้ำควรติดด้านเหนือหรือตะวันตกของแม่น้ำ
9.แนวตัวอักษรต้องไม่วางตัดกับตัวอักษรอื่น
10.รายละเอียดแผนที่เชิงเส้น ควรติดตัวตัวอักษรให้ขนานกับสิ่งนั้น ส่วนรายละเอียดเชิงพื้นที่ จะต้องติดตัวอักษรไว้ในพื้นที่นั้นพร้อมขยายตัวอักษรให้เต็มพื้นที่แต่ไม่ควรชิดขอบมากเกินไป
11.ไม่ควรตดตัวอักษรมากจนเกินไปจทำให้บังรายละเอียดอื่นๆ
12.ตำแหน่งของการติดชื่อภูมิศาตร์ให้ใช้หลักการ Orientation และยึดหลักความเป็นจริง