วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

ชีวิตของคุณที่เหงา...เป็นเพราะรอคอยอะไรอยู่หรือเปล่า

รอคอย..ให้คนอื่นให้
รอคอย...ให้คนอื่นมารัก
รอคอย..ให้คนอื่นมาให้ความสำคัญ ถ้าเราเฝ้าแต่รอคอยอย่างนั้นมันก็เหงาแน่นอน ชีวิตที่เหงาเป็นชีวิตที่คิดปรุงแต่ง ขาดความมั่นใจลองเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ เปลี่ยนท่าทีของการใช้ชีวิตที่จะฝึกรักคนอื่นก่อนบ้าง หยิบยื่นความสุขให้คนอื่นบ้าง ที่สำคัญระวังจิตของผู้ให้ คือ จิตที่คิดจะให้นั้นเบา จิตที่เอานั่้นหนัก ถ้าเรามัวแต่รอคอย ชีวิตของเราก็จะหนักอยู่ด้วยความเหงาอย่างนี้ ฝึกที่จะรัก และมีความเบาแห่งจิตในขณะให้ความสุขที่ได้ใให้ก็จะหล่เลี้ยงเรา การที่เราฝึกมีชีวิตอย่างเข้าใจเจ้าตัวเหงาก็เท่ากับอยู่บนหนทางแห่งสติปัญญาแล้ว


เหงาเป็นอย่างไร
มันเที่ยงไหม
มันคงที่หรือเปล่า
มันมาแล้วมันไปไหม
และมันมีเหงาของฉันจริงหรือ?

ที่สุดของความเหงาไม่ใช่ของของเรา
ลองภาวนากับเจ้าตัวเหงาดู
หายใจเข้ารู้ … รู้ทันเจ้าตัวเหงา
หายใจออก … ไม่อึดอัดกับเจ้าตัวเหงา
ปล่อยความเหงาออกไปจากใจ

ฝึกมีลมหายใจ แห่งสติที่มีความรู้ตัว
พร้อมที่จะมีชีวิตที่มีความสุข เป็นอิสระ เพราะรู้ทันเช่นนี้
แล้วให้มีความสุขที่ได้รักคนอื่น อย่างไม่ต้องคอยว่า …
… คนคนนั้นจะให้เราคืนหรือไม่ … อย่างไร
ชีวิตของผู้ที่มีความสุขที่ได้ให้ …
จะไม่หลงอยู่กับเจ้าตัวเหงานานหรอก


อาหารสมอง...

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสนอแนวทางในการอยู่ร่วมกันไว้ดังต่อไปนี้
  1. เพื่อนใหม่คือของขวัญที่ให้กับตัวเอง ส่วนเพื่อนเก่า คือ อัญมณีที่นับวันจะเพิ่มคุณค่า
  2. ปฎิบัติต่ิอคนอื่นเช่นเดียวกับที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา
  3. พูดคำว่าขอบคุณให้มาก
  4. รักษาความลับให้เป็น
  5. ประเมินคุณค่าของการให้อภัยสูง
  6. ฟังให้มากแล้วจะได้คู่สนทนาที่ดี
  7. อย่าหยิ่งหากจะกล่าวคำว่าขอโทด
  8. อย่าอายหากจะบอกใครว่าไม่รู้
  9. ยามทะเลาะกันผู้ที่เงียบก่อนคือผู้ที่มีการอบรมสั่งสอนดี
  10. เป็นหน้าที่ของเราที่ะพูดให้คนอื่นเข้าใจ ไม่ใช่หน้าที่ของคนอื่นที่จะทำความเข้าใจในสิ่งที่เราพูด
  11. ระลึกถึงความจายวันละ 3 ครั้ง ชีวิตจะมีสุข มีให้อภัย
  12. มนุษย์ทุกคนมีชิ้นงานมากมายในชีวิต จงทำชิ้นงานที่มีความสำคัญที่สุดก่อนเสมอ
  13. ระเบียบวินัย คือ คุณสมบัติที่สำคัญในการดำเนินชีวิต

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

การประยุกต์ใช้การบีบอัดข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายออร์โท

  • การบีบอัดข้อมูลทำได้โดยการพิจารณาลดข้อมูลบอกใน frequency domian โดยมีการเลือกส่วนของภาพที่มีช่วงคลื่นความถี่ที่คล้ายกันแทนด้วยรหัสข้อมูลเดียว และในการจัดเก็บประมวลผลก็จะมีการใช้เทคนิค โครงสร้างข้อมูลชนิดปิรามิด (Image Pyramid) รวมกับการแบ่งข้อมูลเป็นส่วนร่วม (Image Tilind) ด้วย
  • หากทำการบีบอัดด้วยการบีบอัดชนิดสูญเสียข้อมูลเช่น JPEG , MrSID หรือ ECW ซึ่งเมื่อบีบอัดที่อัตราการบีบอัดที่ 1:5 สำหรับ JPEG และ 1:20 สำหรับ MrSIDและECW กรณีที่เป็นภาพสีโดยที่ผลจากการบีบอัดด้วยอัตราการบีบอัด อัตราดังกล่าวนี้จะทำให้ความแตกต่างของภาพ เมื่อเราดูด้วยตาจะไม่สามารถสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้มากนัก
  • สมารถนำแผนภาพถ่ายออร์โทที่ผลิตขึ้นจากภาพถ่ายทางอากาศอย่างรวดเร็วและมีปริมาณข้อมูลบนภาพอยู่มากที่ผู้ใช้สามารถดึงออกไปเป็นข้อมูลต่างๆโดยกรวิเคาะห์และแปลภาพถ่ายได้เป็นอย่างดี
  • แผนภาพถ่ายออร์โท สามารถนำผนวกเข้ากับระบบช่วยเขียนแบบเพื่อช่วยการวิเคราะห์การวางแผนต่างๆ
  • การออกสำรวจภาคสนามเพิ่มเติม ความรู้ความชำนาญของผู้แปลภาพ ผู้ใช้สามารถวิเคราห์ข้อมูลเฉพาะในแต่ละลักษณะเช่น เส้นทางคมนาคม การใช้ที่ดิน อาการและสิ่งปลูกสร้าง ที่ตั้งสาธารณูปโภค

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เมื่อเรารักกัน

เมื่อคนเรารักกัน... ไม่ต้องคิดว่า... จะโง่ หรือ จะฉลาด
ไม่ต้องคิดว่า... ถ้าเชื่อเค้าแล้วเราจะโง่ในสายตาใคร ใคร
ไม่ต้องคิดว่า... ถ้าเปิดหูตารับฟังปากชาวบ้านเป็นการฉลาด
ไม่ต้องคิดว่า... ถ้าเชื่อว่าเค้ารักเราคนเดียวเป็นเรื่องโง่
ไม่ต้องคิดว่า... ถ้ารู้ว่าเค้าทำอะไรเพื่ออะไรเป็นเรื่องฉลาด
ไม่ต้องคิดว่า... ถ้าให้โอกาสเค้า เรื่อย เรื่อย เป็นเรื่องโง่
ไม่ต้องคิดว่า... ถ้าตั้งกฎเกณฑ์แล้วจะฉลาด

เมื่อคนเรารักกัน... เราไม่ได้เล่นเกม
ไม่ใช่เล่น... หมากรุก... ที่ต้องมองเชิงกันก่อน
ไม่ใช่เล่น... วิ่งไล่จับ... คนหนึ่งหนีคนหนึ่งวิ่งตาม
ไม่ใช่เล่น... ซ่อนหา... ต้องตามจิกตามหาตลอดเวลา
ไม่ใช่เล่น... โยนเหรียญ ... สุ่มเอาว่าจะหัวหรือก้อย

เมื่อเรารักกัน... เราไม่ได้ทดลอง action = reaction
เวลาเราให้เค้าไป... ไม่จำเป็นว่าต้องได้รับกลับ
เวลาเค้าโมโหใส่... ไม่จำเป็นต้องโมโหกลับ
เวลาเค้าทำไม่ดีกับเรา... ไม่จำเป็นต้องทำบ้าง
เวลาเค้าไม่ทำดีให้... ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรทำสิ่งดี ดีให้เค้า

เมื่อเรารักกัน... ไม่จำเป็น... ต้องหาเหตุผลให้กับเหตุการณ์ทุกอย่าง
ไม่จำเป็น... ต้องกลัวในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น...
ไม่จำเป็นที่ต้องบอกเค้าว่า...
"เค้าคงไม่เห็นคุณค่าของสิ่งของที่เค้ามี ถ้าเค้ายังไม่เสียมันไป..."

จำไว้ให้แน่นใจ... กับเรื่องดีๆ ที่เค้าพูด
จำไว้ให้อบอุ่นใจ...กับสิ่งดีๆ ที่เค้าทำให้เรา
ค้นมันออกมา... เวลาเหงาใจ
ค้นมันออกมา... เวลาไม่มั่นใจ
ค้นมันออกมา... เวลาเสียใจ

เพราะว่า... เวลาใจเราอ่อนแอ สิ่งดีๆ ...ของเรา 2 มักจะ... หายไป...
อย่า!! อย่า... ปล่อย...ให้มันหายไป...
เราอาจจะเสียใจ... ที่เราหลงลืมเรื่องดีๆ... เหล่านั้น...

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หยดน้ำและผลึกน้ำแข็งในเมฆมีขนดโตขึ้นได้อย่างไร ???

1. ผลจากตัวละลาย
- ผงเกลือหรืออนุภาคทำหน้าที่เป็นนิวเคลิไอของการกลั่นตัวเป็นน้ำอนุภาคจะละลายและกลายเป็นสารละลาย
- ความกดไอน้ำของสารละลายจะน้อยกว่าความกดไอน้ำของหยดน้ำบริสุทธิ์ มีความสัมพันธ์กับการระเหย คือ ความกดไอน้ำมากจะระเหยได้มาก
- หยดน้ำที่มีสารละลายผงเกลืออยู่จะมีความเข้มข้นมากกว่าหยดน้ำบริสุทธิ์และมีความกดไอน้ำน้อย อัตราการระเหยก็น้อยกว่าหยดน้ำขนาดใหญ่ที่บริสุทธิ์
- หยดน้ำขนาดเล็กที่เป็นสารละลายจะโตขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งเป็นหยดน้ำฝน โดยดึงไอน้ำที่มีอยู่โดยรอบๆมากลั่นตัวที่ผิวของหยดน้ำสารละลายนั้น

2. ผลจากสส่วนโค้งของเม็ดน้ำ
- โมเลกุลของน้ำประกอบด้วย H 2 อะตอม O1 อะตอมปลายแต่ละข้างเป็นประจุบวกและลบตามลำดับยึดเหนี่ยวกับโมเลกุลของน้ำอื่นๆ ถ้าหยดน้ำโตมากกว่า 0.5 cm. แรงยึดเหนี่ยวจะอ่อนเกิดการแตกตัวเป็นหยดน้ำเล็กๆ
- ถ้าผิวของหยดน้ำโค้งมากโมเลกุลจะดึงดูดกันไม่ดี ทำให้ระเหยได้ดี หยดน้ำขนาดเล็กมีความกดไอน้ำมากกว่าหยดน้ำขนาดใหญ่
- การโตขึ้นของหยดน้ำจะขึ้นกับอัตราการระเหยและความโค้งของหยดน้ำ




บทเรียนในรายวิชา ภูมิอากาศ เรื่อง เมฆและน้ำฟ้า

หลักการติดตัวอักษรลงบนแผนที่

1 . จะต้องติดชื่อที่ถูกต้องที่ได้รับการตรวจสอบมาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผนที่สองภาษา เช่น จังหวัดสิงห์บุรี จะเขียนเป็น Sing Buri Province
2. เลือกใช้ขนาดของตัวอักษรตามลำดับความสำคัญของชื่อภูมิศาสตร์
3. ควรเลือกใช้รูปแบบและสไตล์ของตัวอัักษรไม่มากจนเกินไป
4. การใช้ช่องไฟ ให้ใช้ช่องไฟแคบที่สุด เพราะถ้าช่องไฟห่างมากเกินไปตัวอักษรของชื่อภูมิศาสตร์จะขาดความต่อเนื่อง แต่ถ้าเป็นตัวอักษรที่ต้องการแสดงให้ครอบคลุมพื้นที่ให้ใช้ตัวอักษรขยาย
5. ควรติดตัวอักษรให้เป็นแนวรง ไม่ควรติดเป็นแนวโค้ง หากทีความจำเป็นให้ติดแนวโค้งได้เล็กน้อย
6. แผนที่มาตราส่วนใหญ่ให้แนวตัวอักษรขนานกับขอบ (บน-ล่าง) ของแผนที่ ส่วนแผนที่มาตราส่วนเล็กให้ติดขนานกับเส้นขนาน
7. รักษาทิศทางของตัวษรทั่วไปให้เป็นในทิศทางหลักอันเดียวกันเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
8. การติดชื่อแหล่งน้ำหรือแม่น้ำควรใช้ตัวเอน ชื่อแม่น้ำควรติดด้านเหนือหรือตะวันตกของแม่น้ำ
9.แนวตัวอักษรต้องไม่วางตัดกับตัวอักษรอื่น
10.รายละเอียดแผนที่เชิงเส้น ควรติดตัวตัวอักษรให้ขนานกับสิ่งนั้น ส่วนรายละเอียดเชิงพื้นที่ จะต้องติดตัวอักษรไว้ในพื้นที่นั้นพร้อมขยายตัวอักษรให้เต็มพื้นที่แต่ไม่ควรชิดขอบมากเกินไป
11.ไม่ควรตดตัวอักษรมากจนเกินไปจทำให้บังรายละเอียดอื่นๆ
12.ตำแหน่งของการติดชื่อภูมิศาตร์ให้ใช้หลักการ Orientation และยึดหลักความเป็นจริง

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553


อากาศทั่วโลกวิปริตหนัก ฤดูกาลผิดเพี้ยนจากเดิม ชนิดไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อังกฤษวิกฤตหนักอุณหภูมิหนาวจัดติดลบต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง หิมะหนาบนถนนถึง40.สนามบินทั่วประเทศปิดตายเที่ยวบินถูกยกเลิกกะทันหันในหลายสาย ขณะที่ฟุตบอลคาร์ลิงคัพ ระหว่างปีศาจแดงกับเรือใบต้องเลื่อนออกไปเพราะหิมะเป็นเหตุ ทางด้านนอเวย์เลวร้ายสุดในยุโรปต้องเผชิญความหนาวเย็นถึงติดลบ 41 องศาเซลเซียส ส่วนจีนประสบปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าและถ่านหินอย่างหนักปักกิ่งมีอุณหภูมิติดลบถึง 16 องศาเซลเซียส ขณะที่กรุงเทพฯฝนหลังฤดูถล่มกรุงทำให้น้ำท่วมถนนหลายสายการจราจรป็ฯอัมพาตโกลาหลทั้งเมือง เกิดสภาพแปรปรวน ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงผิดแผกต่างไปจากเดิม ทั้งอากาศหนาวจัด อุณหภูมิติดลบ หิมะตกหนัก
ขณะที่กรุงเทพมหานครมีฝนตกอย่างหนักตั้งแต่ช่วงบ่ายถึงค่ำของวันที่ 6ม.ค.


หลังจากที่มีฟ้าครึ้มมืดมัวมาตั้งแต่เช้าทั้งที่เป็นช่วงอยู๋ในฤดูหนาว แต่กลับมีฝนตกหลงฤดูตกลงมาส่งผลให้จราจรติดขัดเกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ อาทิ ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนลาดพร้าว ถนนรามคำแหง ถนนพหลโยธิน และเกิดอุบัติเหตุรถชนในหลายพื้นที่

นายบุญธรรมตั้งล้ำเลิศ หัวหน้าเวรพยากรณ์อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า สาเหตุที่เกิดฝนตกหนักในกรุงเทพฯและหลายพื้นที่ทั่วประเทศเกิดจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนอ่อนกำลังลง ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาปกคลุมบริเวณภาคกลาง ทำให้บริเวณภาคกลางมีฝนฟ้าคะนองในช่วงนี้
คาดว่าคืนวันที่6ม.ค.บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะเคลื่อนเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ทั่วประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค.มีฝนฟ้าคะนองและอุณหภูมิลดลง 1-3 องศา

นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.ศูนย์จัดการความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เปิดเผยถึงสภาพอากาศแปรปรวนฝนตกในช่วงฤดูหนาวว่า เกิดจากลมตะวันออกเฉียงใต้พัดมลอากาศร้อนชื้นเข้าสู่ประเทศไทย ทำให้มวลอากาศเย็นหดตัวขึ้นไปทางเหนือ ส่งผลให้เกิดฝนตกกระจายในบางพื้นที่ และปรากฎการณ์ดังกล่าวนี้จะกิดขึ้นภายในสัปดาห์นี้และจะกลับเข้าสู่อากาศหนาวอีกครั้งตลอด
เดือนม.ค.ขณะเดียวกันปัญหาที่ประเทศไทยจะต้องเจอแน่นอนคือ ปรากฏการณ์แอลนินโญ่ระดับรุนแรงในรอบ 10 ปี โดยจะทำให้เกิดภาวะร้อนและแล้งมากว่าปีที่ผ่านๆมา และมีการคาดการณ์แล้วว่าจะส่งผลให้อุณหภูมิสูงขึ้น40-42องศาในบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพฯน่าจะเกิน 40 องศา โดยจะร้อนที่สุดในช่วงเดือนมี.ค.ไปจนถึงเดือน เม.ย. ซึ่งวันที่ร้อนที่สุดคืวันที่ 22 เม.ย.นี้